โทษของช็อกโกแลต

การรับประทานแทนนินมากเกินไปจะทำให้ฟันกลายสภาพเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเหลือง ที่สร้างปัญหามากกว่านั้นคือปริมาณโกโก้ที่เติมลงในช็อกโกแลตไม่ได้มีมากอย่างที่เข้าใจกัน มีแต่น้ำตาลกับกลิ่นเป็นหลัก การรับประทานช็อกโกแลตแท่งมากๆจึงอาจทำให้ฟันผุเพราะฤทธิ์ของน้ำตาลได้ ช็อกโกแลตมีสารคาเฟอีนค่อนข้างสูง ทั้งยังมีสารที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับกาเฟอีน คือ แซนทีนไทโอโบรมีน (xanthine thiobromine) ซึ่งมีมากถึง 232 ถึง 272 มิลลิกรัมต่อช็อกโกแลต 100 กรัม หากดื่มช็อกโกแลตร้อนสักถ้วยหรือรับประทานช็อกโกแลตขนาดกลางสักแท่ง หรือบิสกิตช็อกโกแลตสักสองชิ้น ร่างกายจะได้รับสารคล้ายกาเฟอีนที่ว่านี้มากเป็นสองเท่าของการดื่มกาแฟหนึ่งถ้วย ช็อกโกแลตมี สารออกซาเลต (oxalate) ในปริมาณไม่น้อย และสารนี้อาจรวมตัวกับแคลเซียมในเลือดเกิดตกตะกอนในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดนิ่วขึ้นได้ ลองเปรียบเทียบดูจะพบว่าในแอปเปิลหนึ่งผลมีสารออกซาเลตเพียง 1.5 มิลลิกรัมในขณะที่ในโกโก้หนึ่งผลมีออกซาเลตสูงถึง 623 มิลลิกรัม  เหตุนี้เองทำให้มีการแนะนำว่าอย่ารับประทานช็อกโกแลตมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติด้วยแล้ว การได้รับสารออกซาเลตสูงขณะที่รับประทานโปรตีนและฟอสเฟตในปริมาณน้อยจะเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วขึ้นได้ นอกจากนี้ การรับประทานสารออกซาเลตเข้าไปมากยังทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ในหญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนที่มักมีอาการกระดูกพรุนเพราะขาดแคลเซียมจึงต้องระวังไว้ อย่าเพลินกับการรับประทานช็อกโกแลตให้มากนัก อีกโรคหนึ่งก็คือโรคเครียดที่เรียกกันว่า ไมเกรน (migraine) นายแพทย์โจเซฟ มิลเลอร์ (Joseph Miller) แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย พบว่า สารเอมีนหลายชนิดที่มีมากในช็อกโกแลตจะส่งผลให้สมองทำงานได้ช้าลง ประสาทอาจอ่อนล้า เซื่องซึมจนถึงง่วงได้ง่ายๆ บางครั้งยังอาจทำให้อารมณ์แปรปรวน สนใจสิ่งแวดล้อมน้อยลง มีผลทำให้อาการไมเกรนกำเริบขึ้น    ยังมีโรคอีกหลายโรคที่ต้องระวังการได้รับกาเฟอีนมากเกินไป เช่น การมีเยื่อเมือกในอกหรือในปอด (fibro-cystic breast) และโรคนอนไม่หลับ (insomnia) วิธีง่ายๆที่สามารถทำให้โรคเหล่านี้บรรเทาลงทำได้โดยการให้ผู้ป่วยงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างเด็ดขาด ดังนั้นถ้าผู้ป่วยเลิกดื่มชา กาแฟ โคล่า และเลิกรับประทานช็อกโกแลตแล้ว จะทำให้อาการของโรคทุเลาลง ช็อกโกแลตจัดเป็นอาหารที่มีผลต่อจิตและประสาท

Leave a comment